คำอุปมา บทที่ 15
บทที่ 15
คำอุปมาเรื่องบุตรน้อย
(ลก 15.11-32)
1. พื้นฐาน
ก. เหมือนกับคำอุปมาสองเรื่องก่อน
2. เนื้อเรื่อง
ก. บุตรน้อยได้ขอสมบัติและไปเที่ยวเมืองไกล เขาผลาญทรัพย์หมดด้วยการเป็นนักเลง
1) บิดาในเรื่อง คือ พระเจ้า
2) บุตรทั้งสองคนที่เป็นคนชั่วเป็นตัวแทนของมนุษยชาติ
3) บุตรน้อยเป็นตัวแทนของผู้ที่ทรยศต่อพระเจ้าอย่างเปิดเผยและออกห่างพระองค์
4) เมืองไกล คือ สภาพที่ห่างจากพระองค์ (สดด 10.4, อซ 2.12-13) เมื่อใดที่คนได้ไปจากพระเจ้าก็เท่ากับอยู่เมืองไกล
5) การที่ผลาญสมบัติหมด หมายถึง การที่เขาใช้ชีวิตทั้งหมดโดยการมีชีวิตอยู่ปราศจากพระองค์ เป็นการใช้ชีวิตอย่างไร้ค่า (มธ 16.26)
ข. หลังจากนั้นไม่นานเพราะว่าทรัพย์หมด การกันดารอาหาร เขาเกิดความขัดสน หลังจากคิดซึ้ง ๆ แล้วก็สำนึกตัว และตั้งใจที่จะกลับมาบ้าน
1) การถูกแยกจากพระเจ้าจะนำแต่ความทุกข์มาสู่ผู้นั้น การทุกข์ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่จะนำให้คนกลับใจใหม่
2) เมื่อเขารู้สึกตัว เป็นการแสดงให้เห็นว่า การที่คนอยู่ห่างจากพระเจ้าความคิดของเขาไม่อยู่ในลู่ทางที่ถูกต้อง
3) แต่บุตรน้อยก็น่าชมเชยเพราะว่าเขามิได้บ่นต่อว่าสภาพแวดล้อมเหมือนกับคนทั่วไป
4) เขายอมรับว่าถ้าหากเขาอยู่ในสภาพนี้ต่อไปเขาจะพินาศ (ตาย)
5) เขาจึงตั้งใจแน่วแน่ว่าจะกลับบ้าน
6) เขายอมรับถึงความชั่วและสารภาพว่าเขาไม่สมควรที่จะเป็นบุตร
7) แต่เขาเชื่อว่าอย่างน้อย บิดาคงจะยอมรับเขาในสภาพของคนใช้ อย่างไรก็ตามเป็นความรับผิดชอบของเขาที่จะต้องลุกขึ้นและไปหาบิดา
ค. แน่นอนเหลือเกินว่าบิดาคงจะเฝ้ารอคอยวันกลับของลูก เมื่อบิดาเห็นเขาแต่ไกลก็วิ่งไปหาด้วยความยินดีบิดาไม่เคยที่จะบีบบังคับให้บุตรกลับมาบ้าน เมื่อบุตรตัดสินใจกลับ บิดาก็รับเขาด้วยความรัก บิดาวิ่งไปกอดคอจูบเขามาก
ง. บิดาสั่งบ่าว ให้เอาเสื้ออย่างดี แหวนมาสวมนิ้วมือ รองเท้ามาสวมให้ ฆ่าลูกวัวอ้วนพี เพราะว่าลูกคนนี้ตายแล้วแต่กลับเป็นอีก นี่เป็นเวลาแห่งความโสมนัสยินดี
1) บุตรน้อยต้องการเสื้อและรองเท้า เพราะแผลเป็นจากเมืองไกลอยู่ที่กาย
2) แหวนเป็นเครื่องหมายแสดงถึงอำนาจในบ้าน
3) ลูกวัวอ้วนพี ฆ่าเพราะเวลาพิเศษ (1 ซมอ 28.24) เป็นเวลาพิเศษเมื่อผู้หนึ่งกลับมาหาพระเจ้า 26
4) บิดายอมรับเขากลับมาในฐานะเช่นบุตรของเขา
5) ระหว่างที่จากบิดาไปนั้น บุตรน้อยหลงและตายแล้ว การแยกจากพระเจ้าคือการตายทางด้านจิตวิญญาณ(ลก 9.60, อซ 2.1, 1 ตธ 5.6)
จ. เมื่อบุตรคนโตทราบถึงสาเหตุของงานเลี้ยง เขาก็โกรธและไม่ต้องการเข้าไป บิดาออกมาเชิญและวิงวอน แต่เขาก็ต่อต้านโดยอ้างถึงเวลาแรมปีที่เขาเชื่อฟังแต่ไม่เคยได้รับการชื่นชม
1) บุตรโตนี้ แน่นอนคือ พวกอาลักษณ์และฟาริซาย ผู้ที่ติว่าพระองค์ในการคบกับคนบาป
2) โกรธเพราะความอิจฉาทำให้เขาไม่ยอมสังสรรค์กับน้องและบิดา
3) เขาอ้างว่าเขาไม่เคยทำผิดเลยซึ่งเป็นการโกหกอย่างร้ายแรง (มธ 23.3-4, 25-28)
4) เขากล่าวใส่ความว่าเขาไม่เคยได้รับการชื่นชม นี่ก็ไม่จริงเช่นกัน สมบัติที่ได้รับการแบ่งและตัวเขาก็ได้รับ ถึงสองเท่าแล้ว (ข้อ 12, พบญ 21.17)
5) พวกผู้นำศาสนายิวโดยปกติแล้วมีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับบัญญัติของพระเจ้ามากกว่าผู้อื่น แต่ผลปรากฏว่าพวกเขากลับเป็นผู้ที่ยอมรับพระเยซูน้อยกว่าพวกคนเก็บภาษีและหญิงแพศยา (มธ 21.31)
6) ถึงแม้ว่าบุตรคนโตจะชั่วถึงขนาดนี้ บิดาก็ยังชักชวนให้เขาเข้ามาในงาน
3. บทเรียนที่เราเรียนจากคำอุปมานี้
ก. พระเจ้าไม่แต่เพียงแสวงหาคนบาป แต่พระองค์รักคนบาปด้วย
ข. มนุษย์ทุกคนต้องรับผิดชอบในสภาพที่หลงหายของเขาเอง
ค. การถูกแยกออกจากพระเจ้าจะนำมาซึ่งความทุกข์ทรมาน (ยฮ 5.40, วว 22.17)
ง. ชีวิตที่ปราศจากพระเจ้าเป็นชีวิตที่ไร้ประโยชน์ (1 ปต 4.15)
จ. อยู่แยกกับพระเจ้าตลอดไปจะต้องพินาศ
ฉ. เราจะกลับมาหาพระเจ้าได้ต่อเมื่อเรายอมรับบาปและความไม่เหมาะของเรา
ช. อุปนิสัยที่ไม่ดีต่อผู้อื่นสามารถทำให้เราหลุดจากความรอดได้
ซ. ไม่ว่ามนุษย์จะดื้อด้านสักเท่าไร พระเจ้าก็ยังเชิญชวนอยู่
Comments
Post a Comment